เมนู

อรรถกถาวีมังสกสูตร



วีมังสกสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ผู้สอบสวนอยู่" ความว่า "ผู้จะสอบสวน
มี 3 คือ ผู้สอบสวนในอรรถ ผู้สอบสวนในสังขาร ผู้สอบสวนในพระศาสดา."
ในผู้สอบสวนเหล่านั้น ผู้สอบสวนเนื้อความมาแล้วในบทนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ
มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ฉลาดย่อมเป็นผู้สอบสวน. ผู้สอบสวนในสังขารมาแล้ว
ในบทนี้ว่า "พอละด้วยคำว่า "อานนท์" เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ
ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิ
ใช่ฐานะ อานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุผู้ฉลาดย่อมเป็นผู้สอบสวน. ส่วน
ผู้ฉลาดในพระศาสดาท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.
บทว่า "กระบวนจิต" ความว่า "วาระแห่งจิต คือ การกำหนดจิต"
บทว่า "ตามแสวงหาพร้อม" ความว่า "แสวงหา คือ เสาะหา ได้แก่
ใคร่ครวญหา."
บทว่า "เพื่อรู้แจ้ง ด้วยประการฉะนี้" ความว่า "เพื่อประโยชน์รู้แจ้ง
อย่างนี้."
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรในคำนี้
ว่า "ภิกษุ พึงแสวงหาพระตถาคตเจ้าในเหตุทั้ง 2 เพราะว่า พระตถาคตเจ้านี้
ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง คือกัลยาณมิตรผู้ใหญ่ พึงทราบความที่พระตถาคตเจ้านั้นเป็น
กัลยาณมิตรอย่างใหญ่หลวงนี้."
สมัยหนึ่ง ท่านอานนท์คิดว่า "พรหมจรรย์ครึ่งหนึ่ง มีเพราะอานุ
ภาพตน ครึ่งหนึ่งมีได้เพราะอานุภาพกัลยาณมิตร แล้ว ไม่อาจจะวินิจฉัยตาม

ธรรมดาของตนได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า " พระพุทธเจ้า
ข้า กึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์นี้ คือความเป็นผู้มีมิตรงาม 1 ความเป็นผู้มีสหาย
งาม 1 ความเป็นผู้โน้มเข้าไปในมิตรที่งาม 1" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ว่า "อานนท์! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้เลยๆ อานนท์ พรหมจรรย์ทั้งสิ้นนี้
คือ ความเป็นผู้มีมิตรงาม 1 ความเป็นผู้มีสหายงาม 1 ความเป็นผู้โน้มไปใน
มิตรงาม 1 อานนท์ เหตุนั้น อันภิกษุผู้มีมิตรอันงาม มีสหายงาม โน้มไปใน
มิตรที่งาม พึงหวังได้เฉพาะ เธอจักเจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคมีองค์ 8 ที่เป็น
ของพระอริยะ อย่างไร อานนท์ ก็ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ฯลฯ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคมีองค์ 8 อันเป็นของพระอริยะ. อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก. อานนท์ อย่างนี้
แล ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ฯลฯ ทำให้มาก อานนท์ เหตุนี้นั้นพึงทราบโดยทำ
นองนี้ เหมือนอย่างพรหมจรรย์นี้ทั้งสิ้น คือ ความเป็นผู้มีมิตรที่งาม 1 ความ
เป็นผู้มีสหายงาม 1 ความเป็นผู้โน้มไปในมิตรทั้งงาม 1 อานนท์ ก็สัตว์ทั้ง
หลาย ผู้มีการเกิดเป็นธรรมดาอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ย่อมพ้นจากชาติ.
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ มีความโศก ความร่ำไร
ทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความ
โศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อจะตรัสความถึงพร้อมด้วยองค์ใน
ภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อทำสิ่งใน
ภายนอกว่าเป็นองค์แล้ว เราไม่พิจารณาเห็นองค์อื่น แม้สักองค์เดียวที่เป็นไป
เพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรงามนี้ ภิกษุทั้ง
หลาย ความเป็นผู้มีมิตรงาม เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่."

แม้เมื่อจะตรัสข้อปฏิบัติเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส แก่พระมหาจุนทะ

จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายควรทำความขัดเกลาว่า " คนเหล่าอื่นจักมีคนชั่ว
เป็นมิตร พวกเราจักมีมิตรที่งาม."
แม้เมื่อจะตรัสธรรมสำหรับบ่มวิมุตติ แก่พระเมฆิยะเถระ จึงตรัส
ธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรให้วิเศษนั่นเทียวว่า "เมฆิยะ
ธรรมทั้ง 5 ย่อมเป็นไปเพื่อความสุกหง่อม แห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่
สุกหง่อม 5 อย่าง เป็นไฉน คือ เมฆิยะ. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
กัลยาณมิตร.
แม้เมื่อจะประทานโอวาทเป็นเครื่องพิจารณาเนืองๆ แก่พระราหุล
เถระปิยบุตร จึงตรัสธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรนั่นแหละ
ก่อนธรรมทั้งหมดว่า.
"เธอจงคบกัลยาณมิตร ที่นอนที่นั่งอันสงัด ที่อันเงียบปราศจากเสียง
กึกก้อง เธอจงเป็นผู้รู้ประมาณในการกิน. เธออย่าได้ทำความ
อยากในปัจจัยเหล่านี้ คือ จีวรบิณฑบาต ปัจจัยคือที่นอนและที่นั่ง
เธอจงอย่ามาสู่โลกอีก."
ขึ้นชื่อว่าธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรนี้ เป็นธรรมมีคุณมาก
อย่างนี้.
เมื่อจะทรงแสดงธรรมแม้ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรง
ปรารภเทศนาว่า ภิกษุทั้งหลายพึงแสวงหาพระตถาคตเจ้าในสิ่งทั้ง 2."
อธิบายว่า ภิกษุผู้ฉลาด จงเสาะหาคือแสวงหาพระตถาคตเจ้าในสิ่งทั้ง
สอง ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งสีหนาทว่า "กิจด้วยการคิด
อย่างนี้ว่า" พระพุทธเจ้านี้มีชาติใหญ่ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ รูปงาม
น่าชม มีชื่อเสียง ที่เขาถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง หรือเราอาศัยผู้นี้แล้วจะได้ปัจจัยมี
จีวรเป็นต้นแล้วอยู่อาศัยเราไม่มี" ส่วนผู้ใดมากำหนดอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้า

นี้พอจะเป็นศาสดาที่ทำหน้าที่ศาสดาให้สำเร็จแก่เราได้ บุคคลนั้นจงคบกับ
เราเถิด." ชื่อว่าการเปล่งอย่างสีหะของพระพุทธเจ้ากลายเป็นพระสูตร.
บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงสิ่งทั้งสองเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ที่พึงรู้แจ้งด้วยตาและหูในธรรมนั้น มารยาทที่เป็นไปทางกายของ
พระศาสดา ชื่อว่าธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยตาของผู้จะสอบสวน มารยาทที่เป็น
ไปทางวาจา ชื่อว่าธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยหู. บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงอาการที่จะ
พึงสอบสวนในธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "สิ่งเหล่าใด
เศร้าหมองพร้อมแล้วเป็นต้น."

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เศร้าหมองพร้อมแล้ว "ได้แก่ประกอบ
ด้วยกิเลส และสิ่งเหล่านั้น จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและหูหามิได้." เหมือนเมื่อน้ำ
ปั่นป่วน ฟองน้ำผุดขึ้น บุคคลย่อมรู้ว่า ภายในมีปลาฉันใด บุคคลเห็นและได้
ยินกาย มารยาททางกาย และทางวาจา ของผู้ทำการฆ่าสัตว์หรือกล่าวเท็จ
เป็นต้น ก็ย่อมรู้ว่าจิตที่ให้อกุศลธรรมมีการฆ่าเป็นต้นตั้งขึ้นเศร้าหมองพร้อม
แล้ว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า "สำหรับผู้ที่มีจิต
เศร้าหมอง แม้มารยาททางกายและทางวาจาก็ชื่อว่าพลอยเศร้าหมองไปด้วย."

บทว่า "สิ่งเหล่านั้นไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า" ความว่า "เขาย่อมรู้อย่าง
นี้ว่า "สิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้าไม่มี คือหาไม่ได้." ก็เพราะความที่สิ่ง
เหล่านั้นไม่มีแน่เทียว คือเพราะไม่ได้ปกปิดไว้ จึงหาสิ่งเหล่านั้นไม่ได้.
จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงปวารณาหมู่ภิกษุในสิ่งเหล่า
นี้ ในวันหนึ่ง จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เอาเถิด บัดนี้ เราจะปวารณาต่อพวก
เธอว่า "ก็พวกเธอย่อมไม่ติเตียนมารยาททางกาย และทางวาจาของเราบ้าง
หรือ" เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้ลุกขึ้น
จากอาสนะ ทำผ้าจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าประทับอยู่ ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " ข้าแต่พระองค์
เจริญ พวกข้าพระองค์จะไม่ติเตียนกรรมไรๆ ที่เป็นไปทางกายและทาง
วาจาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงให้มรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น ทรงให้รู้มรรคที่พวกใครๆ ไม่รู้
แล้ว ทรงบอกมรรคที่ใครๆ บอกไม่ได้แล้ว ทรงเป็นผู้รู้หนทาง ทรงเป็นผู้รู้
แจ้งซึ่งหนทาง ทรงเป็นผู้ฉลาดในหนทาง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แลบัด
นี้พวกสาวก เป็นผู้ดำเนินไปตามมรรคอยู่ ภายหลังมาตามพร้อมแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีมารยาททางกายและทางวาจาหมดจดอย่างนี้."
ได้ยินว่า แม้อุตตรมาณพ คิดว่า "เราจักเห็นโทษไรๆ ที่ไม่น่ายินดีใน
กายทวาร และวจีทวารของพระตถาคตเจ้า." แล้วติดตามอยู่ 7 เดือน ก็ไม่ได้
เห็นแม้เท่ากับเล็นหรือว่าอุตตรมาณพนี้เป็นมนุษย์ จักเห็นโทษอะไรที่ไม่น่า
ยินดี ในกายทวารและวจีทวารของพระตถาคตเจ้าผู้เป็นพระพุทธเจ้า ถึงแม้
เทวปุตตมาร ก็ติดตามตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระโพธิสัตว์เสด็จออก
มหาภิเนษกรมณ์ แสวงหาอยู่ตลอด 6 ปี ก็ไม่ได้เห็นโทษไรๆ ที่ไม่น่ายิน
ดี โดยที่สุดแม้เพียงความปริวิตกทางใจ. มารคิดแล้วว่า ถ้าว่าเราจักเห็น
อกุศลแม้เพียงเหตุที่พระโพธิสัตว์นั้นตรึกแล้ว ในเพราะโทษนั้นนั่นแหละ
เราจักตีพระโพธิสัตว์นั้นที่ศีรษะแล้วหลีกไป." มารนั้นไม่ได้เห็นแล้ว
ตลอด 6 ปี ติดตามพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าอีก 1 ปี ก็ไม่ได้เห็นโทษ
ไรๆ จึงไหว้แล้วในเวลาเป็นที่ไป จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เป็นมหาวีระ มีปัญญามาก ผู้รุ่งเรืองด้วยพระฤทธิ์
ด้วยยศ ผู้ทรงก้าวล่วงเวรภัยทั้งปวง ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระบาท" ดังนี้
แล้วหลีกไป.
บทว่า "เจือกัน" ความว่า "ปนกันอย่างนี้ คือ บางเวลาก็ดำ บาง
เวลาก็ขาว."

บทว่า "ขาว" ได้แก่ "บริสุทธิ์ไม่มีกิเลส."

บทว่า "มีอยู่" ความว่า "ธรรมที่ผ่องแผ้วมีอยู่ คือ หาได้อยู่." จริง
อยู่พระตถาคตเจ้า ย่อมมีมารยาททางกายเป็นต้นบริสุทธิ์. เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย 4 อย่างเหล่านี้ ที่ตถาคต
ไม่ต้องการระมัดระวัง 4 อย่างอะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้า
เป็นผู้มีมารยาททางกายบริสุทธิ์. พระตถาคตเจ้าทรงไม่มีกายทุจริต ที่ตถาคต
เจ้าต้องระมัดระวังว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทรงมีมารยาททางวาจาบริสุทธิ์
มีมารยาททางใจบริสุทธิ์ มีอาชีวบริสุทธิ์ ตถาคตไม่มีมิจฉาชีพ ที่ตถาคต
จะต้องระมัดระวังว่า ขอให้ผู้อื่นอย่าได้รู้มิจฉาชีพของเราเลย."

ข้อว่า "ธรรมที่เป็นกุศลนี้" ได้แก่ "ศีลมีอาชีวะเป็นที่ 8." อธิบาย
ว่า "ท่านผู้มีอายุนี้จงแสวงหาอย่างนี้ว่า " พระศาสดาทรงเข้าตลอด
เวลานาน ทรงสมบูรณ์ด้วยศีลนี้ ตั้งแต่กาลที่นานยิ่ง หรือว่า "ทรงเข้าเวลาเล็ก
น้อยจึงทรงเข้าเมื่อวันวาน พรุ่งนี้หรือมะรืนนี้." เพราะว่า คนบางพวกอยู่ในที่
หนึ่ง ได้ทำกรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีพที่ผิดอย่างมาก กรรมนั้นย่อมปรากฏใน
การล่วงเวลานั้น ย่อมปรากฏแล้ว เธอเมื่อไปหมู่บ้านชายแดน หรือ
ฝั่งมหาสมุทรแห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วให้ทำบรรณศาลาอยู่ดุจชาวป่า. พวกมนุษย์
เกิดความยกย่องแล้วถวายปัจจัยแก่เธอ. พวกภิกษุชาวบ้านนอกเห็นความ
เป็นอยู่ของเธอจึงกำหนดว่า ท่านผู้นี้รื่นเริงเหลือเกิน นี่ใครหนอ. ได้รู้แล้ว
ว่า พวกภิกษุผู้ทำมิจฉาชีพชื่อโน้น ในที่โน้นหลีกไป แล้วนั่งปรึกษากัน
ว่า "พวกเราไม่อาจจะทำอุโบสถหรือปวารณาร่วมกับภิกษุนี้ได้" จึงกระทำ
กรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมมีอุกเขปนียกรรมเป็นต้น โดยชอบ
ธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ เพื่อทรงให้ภิกษุเหล่านั้นสอบ
สวนถึงข้อปฏิบัติที่ปกปิดเห็นปานนั้นว่ามีหรือไม่มี.

ข้อว่า "ย่อมรู้อย่างนี้" ความว่า "รู้ว่าทรงเข้าตลอดเวลานาน มิ
ใช่ทรงเข้าตลอดเวลาเล็กน้อย." ก็ข้อที่ศีลอันมีอาชีวะเป็นที่ 8 ของพระ
ตถาคตเจ้า ผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณในบัดนี้พึงบริสุทธิ์ตลอดกาล
นานนี้ไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในเวลาเป็นพระโพธิสัตว์ศีลของพระองค์ก็ได้เป็น
อย่างนี้.
ทราบว่าในอดีตพระราชา 2 พระองค์ คือ พระราชาในแคว้นคันธาระ
และพระราชาในแคว้นวิเทหะ ทรงเป็นสหายกัน ทรงเห็นโทษในกามทั้ง
หลาย จึงมอบราชสมบัติแก่พระโอรส ทรงผนวชเป็นฤาษีแล้วเที่ยว
บิณฑบาตในหมู่บ้านป่าหมู่หนึ่ง. ก็ชายแดนหาเกลือได้ยาก ฤาษีทั้งสองนั้น
ได้ข้าวต้มไม่ได้ใส่เกลือแล้วนั่งดื่มบนศาลาหลังหนึ่ง. พวกมนุษย์ในระ
หว่าง ๆ ได้ทำเกลือป่นมาถวาย. วันหนึ่ง คนหนึ่งใส่เกลือป่นบนใบไม้ให้แก่
เวเทหะฤาษี. เวเทหะฤาษีรับแล้วแบ่งไว้ในสำนักของคันธาระฤาษี กึ่ง
หนึ่ง สำนักของตนกึ่งหนึ่ง. แต่นั้น ฤาษีนั้นเห็นเกลือที่เหลือจากบริโภคหน่อย
หนึ่ง จึงกล่าวว่า "เกลือนี้อย่าเสียเลย" แล้วเอาใบไม้ห่อไว้ในดงหญ้า ในเวลา
ดื่มข้าวต้มวันหนึ่ง เวเทหฤาษี ระลึกได้ เมื่อดูไปก็เห็นเกลือนั้นจึงเข้าไปหา
คันธารฤาษี กล่าวว่า ท่านอาจารย์! ขอท่านจงถือเอาหน่อยหนึ่ง จากส่วนนี้.
ค. "เวเทหฤาษี ท่านได้เกลือนี้มาจากไหน"
ว. "เกลือที่เหลือจากการบริโภคในวันนั้น กระผมเก็บไว้ด้วยคิด
ว่า อย่าเสียไปเลย."
คันธารฤาษีไม่ปรารถนาที่จะรับ ได้ดื่มข้าวต้มไม่มีเกลือนั้น
แหละ แล้วกล่าวกับเวเทหฤาษีว่า
ท่านละหมู่บ้าน 16,000 ที่บริบูรณ์ ท้องพระคลังที่มั่งคั่ง แล้วบัดนี้
มาทำการสั่งสม (เกลือ)."

เวเทหฤาษีได้กล่าวว่า "ท่านละราชสมบัติบวชแล้ว บัดนี้เพราะเหตุ
อะไร จึงไม่ทำกรรมที่สมควรแก่การบวช. เพราะเหตุสั่งสมเพียงเกลือป่น?"
ค. "ผมได้ทำอะไรไว้ล่ะ ท่านเวเทหฤาษี"
ลำดับนั้น เวเทหฤาษี จึงกล่าวกับคันธารฤาษีว่า
"ท่านละแคว้นคันธาระในกรุงที่มีทรัพย์มาก ออกมาแล้วจากการ
ปกครอง แล้วบัดนี้มาปกครองในที่นี้อีก."
ค. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะกล่าวธรรม สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ข้าพเจ้า
ไม่ชอบใจ เมื่อข้าพเจ้ากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่เข้าไปพัวพัน."
ว. บุคคลอื่น ย่อมได้ความย่อยยับ เพราะการสรรเสริญ อย่างใด
อย่างหนึ่ง หากบัณฑิตไม่พึงกล่าวคำนั้น ที่มีประโยชน์ใหญ่".
ค. "ความใคร่จงย่อยยับไป หรืออย่าย่อยยับไป จงเรี่ยรายไปเหมือน
โปรยแกลบ เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่เข้าไปติดพัน."
ลำดับนั้น เวเทหฤาษี คิดว่า "ผู้ใดไม่มีความรู้แม้ของตน ไม่ศึกษา
ระเบียบแบบแผนในสำนักอาจารย์ เขาย่อมเที่ยวไป เหมือนกระบือบอดเที่ยวไป
ในป่า. แล้วกล่าวว่า
"ถ้าความรู้สำหรับตนไม่พึงมีไซร้ หรือไม่ได้ศึกษาวินัยไว้ให้ดี
คนเป็นอันมากจะพึงเที่ยวไป ดุจกระบือบอดเที่ยวไปในป่า. ก็เพราะบุคคล
บางพวก ศึกษาดีแล้วในสำนักอาจารย์ ฉะนั้น เป็นผู้มีวินัยที่บุคคลแนะนำได้
แล้ว มีสติตั้งมั่นเที่ยวไปอยู่."
ก็แลครั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ เวเทหฤาษีจึงกล่าวว่า
"เหตุนี้เราไม่รู้กระทำแล้ว. "แล้วให้คันธารฤาษีอดโทษแล้ว. ฤาษี
แม้ทั้ง 2 ประพฤติตบะแล้วไปสู่พรหมโลก. ถึงในกาลที่พระตถาคตเจ้าเป็น

พระโพธิสัตว์ อาชีวัฏฐมกศีล ก็ได้บริสุทธิ์ตลอดกาลนานอย่างนี้.
บทว่า "ภิกษุผู้มีอายุนี้ปรากฏชื่อเสียง มียศ" ความว่า พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า "ภิกษุผู้มีอายุนี้เป็นครูของเรา ถึงความเป็นผู้อันเขา
รู้แล้ว คือมีชื่อเสียง ได้แก่ ปรากฏแล้ว และตนเองบรรลุบริวารสมบัติหรือ
ไม่หนอ เพราะเหตุนั้น เธอจงสอบสวนอย่างนี้ว่า "โทษบางเหล่าจัก
ปรากฏ โดยความที่ตนปรากฏชื่อเสียง และโดยความที่ตนอาศัยยศ หรือ
ไม่ปรากฏ."
บทว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพียงนั้นหามิได้" ความว่า ตลอดเวลาที่ภิกษุ
เป็นผู้ถึงความเป็นผู้มีชื่อเสียง ในพระราชาและอำมาตย์ของพระราชาเป็น
ต้น หรือซึ่งบริวารสมบัติ โทษบางอย่างมีมานะและมานะจัดเป็นต้นย่อมไม่
มี เธอเป็นดุจว่า ผู้เข้าไปสงบระงับแล้ว ดุจพระโสดาบัน และดุจพระสกทาคามี
อยู่ เธอย่อมเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะชี้ชัดว่า เธอเป็นพระอริยะ
หรือ เป็นปุถุชนหนอแล."
บทว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล" ความว่า ก็เมื่อใดแลภิกษุบาง
พวกในศาสนานี้ เป็นผู้ปรากฏชื่อเสียงแล้ว หรือเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
บริวาร เมื่อนั้น เธอเมื่อจะเบียดเบียนภิกษุเหล่าอื่น ในที่นั้นๆ ดุจโคตัวดุ ไล่เอา
เขาที่แหลมขวิดฝูงโค และดุจเสือเหลืองย่ำยีฝูงเนื้อเป็นผู้ไม่มีความ
เคารพ มีความประพฤติไม่สมประกอบเที่ยวไป ดุจเอาปลายเท้าแตะแผ่นดิน."
ก็กุลบุตรบางพวก เป็นผู้ปรากฏชื่อเสียงมียศ โดยประการใดๆ
โน้มลงด้วยดีดุจข้าวสาลีที่เต็มด้วยผลพวง โดยประการนั้นๆ เมื่อพระราชา
และมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้นเข้าไปหาอยู่ เธอยอมพิจารณาเห็น
ความไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล เข้าไปตั้งความสำคัญ ในความเป็นสมณะ
ไว้ เป็นผู้สงบเสงี่ยม. ไม่เบ่ง มีจิตต่ำ ดุจโคอุสภมีเขาขาด และดุจเด็ก

จัณฑาล ปฏิบัติ แล้วเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ภิกษุสงฆ์ และแก่ชาว
โลกพร้อมทั้งเทวโลก พระผู้มีพระภาคเจ้า. ทรงหมายเอาการปฏิบัติเห็นปาน
นี้ จึงตรัสว่า "โทษบางอย่างในโลกนี้ ไม่มีแก่เธอ."

ก็พระตถาคตเจ้า ทรงเป็นผู้คงที่ในโลกธรรม 8 เพราะพระองค์เป็น
ผู้คงที่ในลาภบ้าง ในความไม่มีลาภบ้าง ในยศบ้าง ในความไม่มียศบ้าง
ในนินทาบ้าง ในสรรเสริญบ้าง ในสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ฉะนั้น โทษทั้งหลาย
บางอย่างในโลกนี้จึงไม่มีแก่พระองค์โดยประการทั้งปวงทีเดียว.
บทว่า "เป็นผู้ไม่มีภัยเข้าไปยินดีแล้ว" ความว่า เป็นผู้มีภัยหามิ
ได้ เข้าไปยินดีแล้ว อธิบายว่า "เป็นผู้เข้าไปยินดีแล้วโดยส่วนเดียว คือเป็นผู้
เข้าไปยินดีโดยติดต่อ."

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีภัยเข้าไปยินดีแล้ว เพราะความเป็นผู้
เข้าไปยินดีโดยความเป็นภัยหามิได้ ดังนี้บ้าง. ก็ภัยมี 4 อย่าง คือ ภัยเกิดจาก
กิเลส 1 ภัยเกิดจากวัฏฏะ 1 ภัยเกิดจากทุคติ 1 ภัยเกิดจากการติเตียน
1 แม้ปุถุชนย่อมกลัวภัย 4 ประการ, เสขบุคคลทั้งหลาย ย่อมกลัวภัย 3
ประการ เพราะว่า พระเสขบุคคลเหล่านั้น ละภัยที่เกิดจากทุคติได้ พระ
เสขบุคคล 7 จำพวก เป็นผู้ยังไม่ปลอดภัย ดังนี้แล. พระขีณาสพชื่อว่า
เป็นผู้ปลอดภัย ก็ภัยอย่างหนึ่งของท่าน ย่อมไม่มี ภัยที่เกิดจากการ
ติเตียนของผู้อื่นก็ไม่มีแล. ก็เธอย่อมอาศัยความเอ็นดูผู้อื่น แล้วรักษา
ความเข้าไปติเตียนผู้อื่นว่า "สัตว์ทั้งหลาย อาศัยพระขีณาสพเช่นกับ
เรา จงอย่าพินาศเลย ดุจพระเถระผู้อยู่ในมุลุปปลวาปีวิหาร."

ได้ยินว่า พระเถระเข้าไปหมู่บ้านมุลุปปลวาปี เพื่อบิณฑบาต.
ลำดับนั้น คนทั้งหลายรับบาตรของท่านผู้ถึงประตูบ้านตระกูลอุปัฏฐาก
แล้วปูอาสนะอิงเก้าอี้นอน ฝ่ายธิดาของอำมาตย์ อาศัยเก้าอี้นั้นนั่นแล ให้ปู

อาสนะต่ำในส่วนข้างหนึ่งนั่งแล้ว ภิกษุเจ้าถิ่นรูปหนึ่ง เข้าไปบิณฑบาตภาย
หลัง ยืนแลดูที่ประตูบ้านนั่นเทียว กำหนดแล้วว่า "พระเถระนั่งบนเตียงเดียว
กับธิดาอำมาตย์" จึงคิดว่า " ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลนี้ อยู่ในวิหาร เหมือนสงบ
เสงี่ยม แต่นั่งบนเตียงเดียวกันกับธิดาอำมาตย์ผู้อุปัฏฐากภายในบ้าน"
แล้วตรวจดูซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า " อะไรหนอ เราเห็นระยำเสียแล้ว'' เป็นผู้สำคัญ
อย่างนั้นแล้วหลีกไป ฝ่ายพระเถระฉันเสร็จแล้ว ไปวัด เข้าที่อยู่ของตน
ปิดประตูนั่งแล้ว. ฝ่ายภิกษุเจ้าถิ่น ฉันเสร็จแล้วก็ไปวัด คิดว่า ''เราจักข่มขู่
เธอ แล้วขับภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลออกจากวัด" แล้วไปที่อยู่ของพระเถระโดย
ทำนองการเที่ยวไปอย่างผู้ไม่สำรวมแล้ว เอากระบวยตักน้ำจากหม้อน้ำสำ
หรับฉัน. ทำเสียงดังแล้วล้างเท้า. พระเถระรำพึงอยู่ว่า ''ผู้นี้ใครหนอแล
เป็นผู้เที่ยวไปไม่สำรวมแล้ว" รู้เรื่องทั้งหมดแล้วคิดว่า ''ผู้นี้อย่าได้เป็นผู้ให้ใจ
ประทุษร้ายในเราแล้วเข้าถึงอบายเลย." แล้วเหาะขึ้นนั่งขัดสมาธิ
ใกล้มณฑลช่อฟ้า. ภิกษุเจ้าถิ่นจึงยกหม้อโดยอาการที่จะประทุษร้าย
ได้เปิดประตูเข้าไปข้างในไม่พบพระเถระ คิดว่า ''พระเถระจักเข้าไปใต้
เตียง" จึงตรวจดูไม่พบพระเถระ แม้ในที่นั้นอีก เริ่มจะออกไป. พระเถระจึง
กระแอมขึ้น ภิกษุเจ้าถิ่นนอกนี้ แลขึ้นไปข้างบนเห็นแล้ว ไม่อาจจะอดทนได้
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผู้มีอายุ การนั่งบนเตียงเดียวกันกับ
ธิดาอำมาตย์ผู้อุปัฏฐาก สมควรแก่ท่าน ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอานุภาพอย่างนี้
หรือ ท่านผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่า บรรพชิตทั้งหลาย นั่งบนเตียงเดียวกันกับมาตุ
คามไม่ได้ ก็เหตุนี้ท่านเห็นว่าไม่ดีหรือ" พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมรักการ
เข้าไปติเตียนผู้อื่นอย่างนี้."
บทว่า "เพราะสิ้นราคะ" ความว่า "เพราะความสิ้นไปแห่งราคะนั่น
เอง ย่อมไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะปราศจากราคะ อธิบายว่า "ห้ามแล้ว
เสพด้วยการพิจารณาหามิได้."

บทว่า "หากว่า ...ซึ่งภิกษุนั้น" ความว่า "คนเหล่าอื่นพึงถามอย่างนี้
กะภิกษุผู้จะสอบสวนนั้น ผู้รู้การละกิเลสของพระตถาคตเจ้าอย่างนี้ แล้ว
นั่งบนธรรมาสน์ที่ตกแต่งแล้วท่ามกลางบริษัท 4 แม้ในเวลายืนและนั่งเป็น
ต้นนั้นๆ กล่าวสรรเสริญการละกิเลสของพระตถาคตเจ้าอย่างนี้ว่า "แม้
เพราะอย่างนี้ พระศาสดา ทรงเป็นผู้ปราศจากราคะ. โทสะ โมหะ คาย
กิเลศ ละมลทินได้ ทรงบริสุทธิ์อย่างดี เหมือนพระจันทร์เพ็ญพ้นจากหมอก
ฉะนั้น."
บทว่า "อาการ" ได้แก่ "เหตุ."
บทว่า "ไปตาม" ได้แก่ "รู้ตาม."
บทว่า "หรือว่า อยู่ในสงฆ์" ความว่า "บางคราวอยู่ท่ามกลางภิกษุ
ที่กำหนดนับไม่ได้."
บทว่า "หรือว่า ผู้เดียวเสด็จประทับอยู่" ความว่า "ผู้เดียว ประทับ
อยู่ในที่หลีกเร้น และในชัฏป่าปาริเลยยกะอย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย!
เราปรารถนาเพื่อจะหลีกเร้นกึ่งเดือน (บ้าง) 3 เดือน (บ้าง)."
บทว่า "ผู้ไปดีแล้ว" ความว่า "ผู้ไปดีแล้ว คือเป็นผู้ปฏิบัติดี ได้แก่
เป็นผู้ที่ประกอบสมควรแก่เหตุ." ก็ภิกษุบางพวกแม้ เห็นปานนี้ก็มีอยู่."
บทว่า "ไปไม่ดีแล้ว" ความว่า "ชื่อว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องเพราะเกี่ยว
หนักมาก ละกรรมฐาน ภิกษุบางรูป แม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่."
บทว่า "ตามสอนคณะ" ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องเพราะเกี่ยว
ข้องด้วยคณะเป็นผู้ยินดีในคณะ มากในคณะ บริหารคณะอยู่." ภิกษุบาง
รูป แม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่. ภิกษุเหล่านั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อภิกษุพวกนั้น เป็นผู้
แล่นออก สลัดออกจากคณะ ไม่ประกอบอยู่ก็มี.

บทว่า "ย่อมปรากฏในอามิส" ความว่า "พวกภิกษุผู้มุ่งในอามิสทั้ง
หลาย เป็นผู้โลภในอามิส มีจักษุเพ่งแต่อามิส เที่ยวไปเพื่ออามิส คือปัจจัย
4 เท่านั้นก็มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ถูกอามิสฉาบทาแล้ว มีใจผ่องใสจากปัจจัย
4 เป็นเช่นกับดวงจันทร์ที่พ้นจากหมอกอยู่ก็มีอยู่.

บทว่า "ท่านผู้นี้ย่อมดูหมิ่นผู้นั้น ด้วยอามิสหามิได้" ความว่า
" ความยกขึ้นด้วยอำนาจอาศัยเรือนย่อมไม่มีแก่เธออย่างนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ
นี้ เป็นครู ย่อมไม่ดูหมิ่นบุคคลนั้นๆ ด้วยข้อปฏิบัตินั้นๆ ผู้นี้เป็นผู้ปฏิบัติดี
เป็นนักปฏิบัติ นี้ชื่อว่าเป็นผู้แล่นออก สลัดออกจากคณะ ผู้นี้เป็นผู้ที่อามิสไม่
ฉาบทาแล้ว เป็นผู้มีจิตใจผ่องใสจากจากปัจจัยทั้งหลาย เหมือนดวงจันทร์ที่พ้น
จากหมอกฉะนั้น ดังนี้บ้าง." ความข่มขู่ด้วยอำนาจอาศัยเรือนย่อมไม่มีแก่เธอ
อย่างนี้ว่า "ผู้นี้เป็นผู้ปฏิบัติไม่ดี ไม่ใช่นักปฏิบัติ เป็นผู้มีกายหนักแน่น สละ
กรรมฐาน ผู้นี้เป็นผู้เกี่ยวเนื่องด้วยหมู่ โลภในอามิส โลเล มีจักษุจ้องแต่
อามิส ดังนี้บ้าง." ถามว่า "คำอะไรเป็นอันภิกษุนี้กล่าวไว้" ตอบว่า "ท่านย่อม
เป็นผู้กล่าว ความเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งหลายของพระตถาคตเจ้า."
ก็พระผู้เป็นมุนีนี้ มีพระทัยเสมอต่อเหล่าสัตว์ทั้งปวง คือ
ต่อพระเทวทัต นายขมังธนู โจรองคุลิมาล ในช้างธนบาล
และในพระราหุล.
บทว่า ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุผู้จะสอบสวนเหล่านั้น" ความว่า
"ก็ในบรรดาภิกษุผู้จะสอบสวนทั้งสองนั้น ภิกษุนี้ใดได้มาถึงแล้วในเพราะ
การถามว่า "ก็อะไรเป็นอาการของท่าน นี้ชื่อว่า ผู้สอบสวนข้อขอด."
อนึ่ง ผู้ใดมาแล้วด้วยคิดว่าท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีภัยเข้าไปยินดีแล้ว ชื่อว่า ผู้สอบ
สวนข้อมูล. ในบุคคลทั้ง 3 ผู้สอบสวนเหล่านั้น ผู้สอบสวนข้อมูลจะพึงกลับ
ถามพระตถาคตเจ้าให้หนักขึ้นไปอีกเทียว. อธิบายว่า "ข้อแรก แม้เธอก็จะ

ถึงความตกลงใจด้วยถ้อยคำของผู้อื่น ก็ขึ้นชื่อว่า ผู้อื่นเมื่อรู้บ้าง ไม่รู้
บ้าง ก็จะพึงกล่าว, ถ้อยคำของเธอเป็นถ้อยคำจริงบ้าง ไม่จริงบ้างอย่าง
นี้ เพราะฉะนั้น เธอไม่ถึงความตกลงใจในถ้อยคำของผู้อื่นนั่นเอง จะพึงถาม
พระตถาคตเจ้าใหญ่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกเทียว.
ในคำว่า "เมื่อพยากรณ์ นี้ เพราะขึ้นชื่อว่า พระตถาคตเจ้าไม่
มีพยากรณ์ผิดฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ถูก ผิด (แต่)
ตรัสว่า "ทรงพยากรณ์อยู่."
บทว่า "เราเป็นผู้มีอาชีวัฎฐมกศีลนั้นเป็นหนทาง มีอาชีวัฎฐมกศีลนั้น
เป็นโคจร
" ความว่า "เราเป็นผู้มีอาชีวัฎฐมกศีลบริสุทธิ์ว่า "นี่เป็นทางของ
เรา นี่เป็นโคจรของเรา บาลีว่า "เอตาปาโถ ดังนี้บ้าง."
บทว่า "เอตาปาโถ" นั้นมีอธิบายว่า "เราเป็นผู้มีอาชีวัฎฐมกศีล
บริสุทธิ์ เรานั้นชื่อว่าเป็นผู้อาชีวัฎฐมกศีลเป็นทาง ด้วยมุขคือญาณของภิกษุผู้
ชื่อว่าสอบสวนนั้น เพราะความเป็นผู้บริสุทธิ์ มีคำอธิบายว่า ''เรา
มาปรากฏตัวอย่างนี้."
ด้วยบทว่า "เราเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยอาชีวัฎฐมกศีลนั้น ด้วยศีลนั้นหา
มิได้" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า "ก็เราเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยอาชี
วัฎฐมกศีลนั้น ด้วยศีลที่บริสุทธิ์แม้นั้นหามิได้ เป็นผู้มีตัณหาหามิได้ ชื่อว่า
เป็นผู้หมดตัณหา เพราะความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์นั่นเอง."
บทว่า "ยิ่งๆ ขึ้นไป และประณีตยิ่งขึ้น" ความว่า "พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงให้ยิ่งขึ้นไป และให้ประณีตยิ่งขึ้นไป."
บทว่า "ที่มีส่วนเทียบทั้งฝ่ายดำและขาว" ความว่า "ทั้งดำและขาว."
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้ทั้งฝ่ายดำและขาวนั้นมีส่วนเทียบกัน ให้มี
วิบากเท่ากันแล้วทรงห้ามส่วนที่ดำ ทรงแสดงทั้งฝ่ายดำและขาว ให้มีส่วน

เปรียบเทียบอย่างนี้ว่า ขาว และทรงห้ามส่วนที่ขาวแล้ว แสดงทั้งส่วนดำและ
ขาวให้มีส่วนเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า ดำ ดังนี้."
ก็แม้เมื่อทรงแสดงส่วนที่ดำ ก็ทรงแสดงพร้อมทั้งอุตสาหะและ
วิบาก. เมื่อทรงแสดงส่วนที่ขาว ก็ย่อมทรงแสดงพร้อมทั้งความอุตสาหะและ
วิบาก.
บทว่า "ถึงความตกลงใจในธรรมทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งซึ่งธรรมบาง
อย่างในศาสนานี้"
ความว่า ถึงความตกลงใจในพระธรรมเทศนา ด้วย
ธรรมคือการแทงตลอดที่รู้ยิ่งแล้วนั้น ด้วยความรู้ยิ่งซึ่งธรรมบางอย่างใน
ธรรมที่ทรงแสดงแล้วนั้น."
บทว่า "เลื่อมใสในพระศาสดา" ความว่า "ถึงความตกลงใจในธรรม
อย่างนี้ แล้วเลื่อมใสในพระศาสดาโดยประมาณ โดยยิ่งว่า "พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ" ย่อมเลื่อมใสในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์ก็อย่าง
นี้ว่า "ก็พระธรรมใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว พระธรรมแม้
นั้น ชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เพราะเป็นเครื่องนำออก.
พระสงฆ์ใดปฏิบัติธรรมนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระสงฆ์
แม้นั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว เพราะปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เว้นจากโทษมีการคดเป็น
ต้น."
บทว่า "ถ้าว่า.....ซึ่งภิกษุนั้น" ความว่า "ซึ่งภิกษุนั้น ผู้เลื่อมใสแล้ว
อย่างนี้ กล่าวสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยในที่นั้นๆ."
บทว่า "อาการเหล่านี้" ความว่า "ด้วยเหตุเป็นเครื่องสอบสวนพระ
ศาสดาเหล่านี้."
บทว่า "ด้วยบทเหล่านี้" ได้แก่ "บทเป็นเครื่องรวบรวมอักขระเหล่า
นี้."

บทว่า "มีความเชื่อตั้งมั่น" ได้แก่ "ความแนบแน่นตั้งมั่นแล้ว."
บทว่า "มีความเกิดเป็นมูล" ได้แก่ "มีมูลเกิดพร้อมแล้วด้วยอำนาจ
โสดาปัตติมรรค." ก็โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า เป็นมูลแห่งศรัทธา.
บทว่า "มีอาการ" ได้แก่ "ชื่อว่ามีเหตุ เพราะท่านแสวงหาเหตุแล้วจึง
ถือเอา."
บทว่า "มีความเห็นเป็นมูล" ได้แก่ เป็นมูลแห่งโสดาปัตติมรรค.
ก็โสดาปัตติมรรค ท่านเรียกว่า "ความเห็น."
บทว่า "มั่น" ได้แก่ ยั่งยืน."
บทว่า "อันใครนำไปไม่ได้" ได้แก่ "อันใครๆ ไม่อาจนำไปได้."
บทว่า "หรือสมณะ" ได้แก่ หรือว่าสมณะผู้มีบาปอันสงบแล้ว.
บทว่า "หรือว่าพราหมณ์" ได้แก่ "หรือว่าพราหมณ์ผู้ลอยบาปแล้ว."
บทว่า "หรือว่า เทพ" ได้แก่ "อุปบัติเทพ."
บทว่า "หรือว่า มาร" ได้แก่ "หรือว่าวสวัตตีมาร. ก็ความเชื่อของ
พระโสดาบันนั้นเป็นสภาพที่เทวดา แม้วสวัตตีมารก็ลักไปไม่ได้ ดุจความเชื่อ
ของนายสูรผู้อยู่ป่ามะม่วง.
ทราบว่า นายสูระนั้น ฟังธรรมของพระศาสดาแล้ว ได้เป็นพระ
โสดาบันแล้วไปเรือน. ลำดับนั้นจึงเนรมิตเป็นรูปเปรียบด้วยพระพุทธเจ้า
ที่ประดับด้วยพระลักษณะอย่างเลิศ 32 ประการ แล้วยืนที่ประตูเรือน
ของสูรอุบาสก ส่งข่าวไปว่า "พระศาสดาเสด็จมาแล้ว." สูรอุบาสก คิดแล้ว
ว่า "เราฟังธรรมจากสำนักของพระศาสดาแล้วเดี๋ยวนี้เอง จักมีเหตุอะไรหนอ
แล" จึงเข้าไปเฝ้าแล้วได้ยืนถวายบังคมด้วยสำคัญว่าเป็นพระศาสดา.
มารกล่าวแล้วว่า "สูรัมพัฏฐ คำใดที่เรากล่าวแล้วกับท่านว่า "รูปไม่
เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง เพราะคำนั้น เรากล่าวแล้วไม่ถูก เราไม่

ใคร่ครวญกล่าวแล้วอย่างนี้ ฉะนั้น ท่านจงถือเอาว่า รูปเที่ยง ฯลฯ วิญญาณ
เที่ยง."
สูรอุบาสก จึงคิดว่า "ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ทรงใคร่ครวญ
แล้ว พึงตรัสคำไรๆ ไม่ให้แจ่มแจ้งแล้วนั้นเป็นไปไม่ได้. ผู้นี้จักเป็นมารมาเพื่อ
ให้เราเข้าใจผิดแน่แท้. ลำดับนั้น จึงกล่าวกะมารนั้นว่า "ท่านเป็นมารหรือ"
มารนั้นไม่อาจจะกล่าวเท็จได้จึงรับว่า "เออ...เราเป็นมาร." ถูกสูร
อุบาสกกล่าวว่า "มาเพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า "เพื่อให้ศรัทธาของท่านคลอน
แคลน."
สูรอุบาสกจึงดีดนิ้วให้รู้ว่า เจ้ามารดำผู้มีบาป เจ้าผู้เดียวจงหยุด
ก่อน มารเช่นเจ้าตั้งร้อย ตั้งพัน ก็ไม่อาจให้ศรัทธาของเราหวั่นไหวได้
ขึ้นว่าศรัทธาที่มาแล้วโดยมรรคย่อมไม่หวั่นไหว ดุจภูเขาสิเนรุที่ตั้งอยู่บน
แผ่นดินที่เป็นศิลา เจ้าจะอยู่ในที่นี้ทำไม" มารนั้นไม่อาจดำรงอยู่ในที่
นั้น ได้อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเทียว.
บทว่า "หรือว่า พรหม" ความว่า "หรือว่าบรรดาพรหมมีพรหม
กายิกะเป็นต้น พรหมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง."
บทว่า "หรือว่าใครๆ ในโลก" ความว่า "เว้นสมณะเป็นต้นเหล่า
นี้ หรือว่า ใครๆ แม้อื่นในโลกก็ไม่สามารถนำไปได้.
การสอบสวนภาวะของตน ชื่อว่า การสอบสวนธรรม.
บทว่า "ตั้งมั่นในการสอบสวนอย่างดี ตามธรรมดา" ได้แก่ ดำรงอยู่
ในการสอบสวนอย่างดีโดยธรรมดา." อธิบายว่า " เป็นผู้ถูกสอบสวนแล้ว
อย่างดี ตามภาวะของตนทีเดียว. คำทีเหลือในทุกบทตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาวีมังสกสูตร ที่ 7

8. โกสัมพิยสูตร



เรื่องพระเถระวิวาทกัน



[540] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม
เขตพระนครโกสัมพี.
สมัยนั้น พวกภิกษุในเมืองโกสัมพี เกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่มแทงกัน
และกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ปรับความเข้าใจกัน ไม่ปรารถนาความเข้าใจ
กัน ไม่ทำให้ปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ขอประ
ทานพระวโรกาส พวกภิกษุในเมืองโกสัมพี เกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่มแทงกัน
และกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ปรับความเข้าใจกัน ไม่ปรารถนาความเข้าใจ
กัน ไม่ทำให้ปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วรับ
สั่ง ว่า "ภิกษุ เธอจงมา เธอจงเรียกภิกษุเหล่านั้นมาตามคำของเราว่า
พระศาสดาของพวกเรารับสั่งให้หาพวกท่านผู้มีอายุ."
ภิกษุรูปนั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "อย่างนั้น พระ-
พุทธเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วบอกว่า พระศาสดารับ
สั่งให้หาท่านผู้มีอายุทั้งหลาย."
ภิกษุเหล่านั้นรับคำภิกษุนั้นว่า "อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ" ดังนี้ แล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง.